ฟลายชีท : How to 4 เทคนิค กางฟลายชีท แบบง่าย ๆ
ฟลายชีท เปรียบเสมือนหลังคาของที่พักอาศัย เป็นอุปกรณ์สำคัญที่เราจำเป็นต้้องมีในการออกไปตั้งแค้มป์เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการตั้งแค้มป์นั้นอยู่ในพื้นที่ป่า หรือพื้นที่ที่ไม่มีสิ่งปลูกสร้างให้เราพักพิงในยามที่ลมแรงหรือฝนตก โดยปกติฟลายชีทจะถูกนำไปทำกางเป็นเป็นพื้นที่สำหรับนั่งทานข้าว นั่งเล่นพูดคุยกันในกลุ่มครอบครัว หรือกลุ่มเพื่อน ๆ ที่ไปตั้งแค้มป์ร่วมกัน และเทคนิคการกางฟลายชีทจึงเป็นเรื่องสำคัญ เราจึงได้นำเทคนิคการกางฟลายชีทที่เหมาะกับกลุ่มนักเดินทางในประเทศไทยมาฝากเพื่อน ๆ กัน 4 แบบ และเป็นแบบที่ทำได้ไม่ยากเลยล่ะเพราะอย่าลืมสิว่า “ฟลายชีทก็เปรียบเสมือนหลังคาบ้านนั่นแหละ”
1 กางฟลายชีท แบบ Basic A Frame
รูปแบบการกางฟลายชีทแบบ Basic A Frame เป็นการกางฟลายชีทแบบง่าย และเป็นแบบกางฟลายชีทที่เราเห็นทั่วไป**** กางฟลายชีทง่ายมาก เหมาะสำหรับมือใหม่ และพื้นที่ที่ลมแรงมาจากด้านใดด้านหนึ่ง หรือจากทั้งสองด้าน
2 กางฟลายชีท แบบ Basic Lean to
รูปแบบกางฟลายชีทแบบ Basic Lean to เป็นการกางฟลายชีทแบบง่าย ทำได้เร็ว เหมาะสำหรับมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มกางฟลายชีทเป็นครั้งแรก**** กางฟลายชีทง่ายมาก และทำได้เร็ว เหมาะสำหรับมือใหม่ และพื้นที่ที่ลมแรงมาจากด้านในด้านหนึ่ง
[row_inner_3] [col_inner_3 span__sm=”12″]อุปกรณ์ที่ต้องใช้
1 ต้นไม้ 2 ต้น หรือเสาไม้/อลูมิเนียม 2 ต้น
2 เชือกหลัก 1 เส้น
3 สมอบก 6 อัน
4 ฟลายชีท 4×6 หรือ ฟลายชีท 3×4 พร้อมเชือกผูกที่มุมทั้ง 6 ด้าน
เทคนิคกางฟลายชีท แบบ Basic Lean to
นำเชือกมาขึงกางผูกจากต้นไม้ต้นที่ 1 ไปยังต้นไม้ต้นที่ 2 ให้ความสูงของเชือกสูงจากผืนดินราว 1 เมตร 80 เซนติเมตร หรือ 2 เมตร ดึงเชือกให้ตึง จากนั้นนำฟลายชีท 3×4 หรือฟลายชีท 4×6 มาวางพาดบนเชือก จัดวางกางฟลายชีทให้ตึงและให้ฟลายชีททั้งสองด้านที่มีลมแรงยาวกว่า วางทำมุม 30 องศา แล้วนำเชือกที่มุมของฟลายชีทแต่ละด้านมาผูกติดกับสมอบก แล้วจึงตอกสมอบกของแต่ละมุมด้านหน้าและด้านหลังของฟลายชีทลงบนดิน ดึงเชือกมุมฟลายชีทด้านข้างของเสาทั้งสองด้าน ปักลงบนพื้น ตอกด้วยสมอบก ***เทคนิคกางฟลายชีทที่ดีคือฟลายชีทและเชือกที่ผูกติดกับฟลายชีทต้องตึง
[row_inner_4] [col_inner_4 span=”6″ span__sm=”12″ bg_color=”#7a9c59″ color=”light”]ข้อดีของการกางฟลายชีท แบบ Basic Lean to
1 ป้องกันสายฝน และลมจากด้านใดด้านหนึ่งได้เป็นอย่างดี
2 กางได้ง่าย และเร็ว
[/col_inner_4] [col_inner_4 span=”6″ span__sm=”12″ bg_color=”#d26e4b” color=”light”]ข้อเสียของการกางฟลายชีท แบบ Basic Lean to
1 ป้องกันลมและฝนได้เพียงด้านเดียวเท่านั้น
[/col_inner_4] [/row_inner_4] [row_inner_4] [col_inner_4 span__sm=”12″]3 กางฟลายชีท แบบ Dining Fly
รูปแบบกางฟลายชีทแบบ Dining Fly เป็นการกางฟลายชีทที่ทำให้พื้นที่กว้างขวาง ไม่ดูอึดอัด เหมาะสำหรับนั่งทานข้าว หรือนั่งเล่นเป็นหมู่คณะ เป็นแบบที่ป้องกันลมและฝนได้เป็นอย่างดี
[row_inner_5] [col_inner_5 span__sm=”12″]**** กางฟลายชีทค่อนข้างยาก ต้องใช้ความชำนาญเล็กน้อย
[row_inner_7] [col_inner_7 span__sm=”12″]อุปกรณ์ที่ต้องใช้
1 ต้นไม้ 2 ต้น (กรณีที่มี)
2 เสาไม้/อลูมิเนียม 2 ต้น
3 เชือกหลัก 1 เส้น
4 สมอบก 6 – 10 อัน หรือ สมอบก 6 อัน หลักไม้ 2 หลัก
5 ฟลายชีท 4×6 หรือ ฟลายชีท 3×4 พร้อมเชือกผูกที่มุมทั้ง 6- 10ด้าน
เทคนิคกางฟลายชีท แบบ Dining Fly
กรณีที่ต้นไม้ใหญ่ 2 ต้น : นำเชือกมาขึงกางผูกจากต้นไม้ต้นที่ 1 ไปยังต้นไม้ต้นที่ 2 ให้ความสูงของเชือกสูงจากผืนดินราว 2 เมตร ถึง 2 เมตร 30 เซนติเมตร ดึงเชือกให้ตึง จากนั้นนำฟลายชีท 3×4 หรือฟลายชีท 4×6 มาวางพาดบนเชือก จัดวางกางฟลายชีทให้ตึงและให้ฟลายชีททั้งสองด้านยาวเท่ากัน แล้วนำเชือกที่มุมของฟลายชีทแต่ละด้านมาผูกติดกับสมอบก แล้วจึงตอกสมอบกของแต่ละมุมลงบนดิน ดึงเชือกมุมฟลายชีทด้านจั่วข้างหน้าและข้างหลังฟลายชีท ปักลงบนพื้น ตอกด้วยสมอบก ***เทคนิคกางฟลายชีทที่ดีคือฟลายชีทและเชือกที่ผูกติดกับฟลายชีทต้องตึง
กรณีที่ไม่มีต้นไม้ : ตอกเสาไม้ หรือเสาอลูมิเนียมตอกลงบนดินให้ระยะห่างกันมากกว่าความยาวของฟลายชีทราวด้านละ 1 ฟุต เช่น ฟลายชีท 3×4 ระยะห่างของเสาหลักควรจะมีระยะห่างกันราว 4 เมตร 60 เซนติเมตร หรือ 5 เมตร เมื่อตอกเสาหลักแล้ว ให้ตอกหลักไม้ต่อจากเสาหลักให้ห่างออกไปราว 1 เมตรทั้งสองด้าน จากนั้นนำเชือกมาขึงกางผูกจากเสาที่ 1 ไปยังเสาที่ 2 ให้ความสูงของเชือกสูงจากผืนดินราว 1 เมตร 80 เซนติเมตร ถึง 2 เมตร ดึงเชือกให้ตึง แล้วโยงไปยังหลักไม้ของแต่ละด้าน มัดให้แน่น จากนั้นนำฟลายชีท 3×4 หรือฟลายชีท 4×6 มาวางพาดบนเชือก จัดวางฟลายชีทให้ตึงและให้ฟลายชีททั้งสองด้านยาวเท่ากัน แล้วนำเชือกที่มุมของฟลายชีทแต่ละด้านมาผูกติดกับสมอบก แล้วจึงตอกสมอบกของแต่ละมุมลงบนดิน ดึงเชือกมุมฟลายชีทด้านจั่วข้างหน้าและข้างหลังฟลายชีท ปักลงบนพื้น ตอกด้วยสมอบก ***เทคนิคกางฟลายชีทที่ดีคือฟลายชีทและเชือกที่ผูกติดกับฟลายชีทต้องตึง
[row_inner_8] [col_inner_8 span=”6″ span__sm=”12″ bg_color=”#7a9c59″ color=”light”]ข้อดีของการกางฟลายชีท แบบ Dining Fly
1 ป้องกันสายฝน ลมและแสงแดดได้เป็นอย่างดี
2 มีพื้นที่ด้านในฟลายชีทค่อนข้างกว้าง ดูไม่อึดอัด
3 ไม่มีน้ำจากมุมฟลายชีทไหลเข้าด้านใน
[/col_inner_8] [col_inner_8 span=”6″ span__sm=”12″ bg_color=”rgb(210, 110, 75)” color=”light”]ข้อเสียของการกางฟลายชีท แบบDining Fly
1 อาจมีลมเข้าด้านในฟลายชีทเล็กน้อย
2 ใช้เวลาในการกางค่อนข้างนาน
3 หากมีฝนตกหนัก หรือน้ำค้างแรง อาจจมีน้ำขังบนฟลายชีทจนเป็นสาเหตุให้น้ำไหลซึมผ่านฟลายชีทได้
[/col_inner_8] [/row_inner_8] [row_inner_8] [col_inner_8 span__sm=”12″]4 กางฟลายชีท แบบ Dining Fly Upgrade
รูปแบบกางฟลายชีทแบบ Dining Fly Upgrade เป็นการกางฟลายชีทที่ทำให้พื้นที่กว้างขวาง ไม่ดูอึดอัด เหมาะสำหรับนั่งทานข้าว หรือนั่งเล่นเป็นหมู่คณะ เป็นแบบที่ป้องกันลมและฝนได้เป็นย่างดี และไม่มีปัญหาเรื่องน้ำขังบนฟลายชีท
[row_inner_9] [col_inner_9 span__sm=”12″]**** กางค่อนข้างยาก ต้องใช้ความชำนาญเล็กน้อย
[row_inner_11] [col_inner_11 span__sm=”12″]อุปกรณ์ที่ต้องใช้
1 ต้นไม้ 2 ต้น (กรณีที่มี)
2 เสาไม้/อลูมิเนียม 2 ต้น และเสาไม้หรืออลูมิเนียมสูงขนาด 1 เมตร 8 – 10 ต้น
3 เชือกหลัก 1 เส้น
4 สมอบก 10-12 อัน หรือ สมอบก 10 อัน หลักไม้ 2 หลัก
5 ฟลายชีท 4×6 หรือ ฟลายชีท 3×4 พร้อมเชือกผูกที่มุมทั้งหมด
เทคนิคกางฟลายชีท แบบ Dining Fly
กรณีที่ต้นไม้ใหญ่ 2 ต้น : นำเชือกมาขึงกางผูกจากต้นไม้ต้นที่ 1 ไปยังต้นไม้ต้นที่ 2 ให้ความสูงของเชือกสูงจากผืนดินราว 2 เมตร ถึง 2 เมตร 30 เซนติเมตร ดึงเชือกให้ตึง จากนั้นนำฟลายชีท 3×4 หรือฟลายชีท 4×6 มาวางพาดบนเชือก จัดวางฟลายชีทให้ตึงและให้ฟลายชีททั้งสองด้านยาวเท่ากัน แล้วนำเชือกที่มุมของฟลายชีทด้านข้างแต่ละด้านมาผูกติดเสาขนาด 1 เมตร ผูกด้วยเงื่อนตะกรุดเบ็ด จากนั้นดึงปลายเชือกยึดกับสมอบก แล้วจึงตอกสมอบกของแต่ละมุมลงบนดิน ***ทริคของการกางฟลายชีทแบบนี้คือ มุมของฟลายชีทด้านข้างจะมีมุมสูงบ้าง ต่ำบ้าง เป็นลักษณะสลับฟันปลา แต่บริเวณจั่วด้านหน้าของฟลายชีททั้งสองด้านจะเปิดให้สูงเสมอ เพื่อให้คนเข้า -ออกสะดวก ดึงเชือกมุมฟลายชีทด้านจั่วข้างหน้าและข้างหลังฟลายชีท ปักลงบนพื้น ตอกด้วยสมอบก ***เทคนิคกางฟลายชีทที่ดีคือฟลายชีทและเชือกที่ผูกติดกับฟลายชีทต้องตึง
***เทคนิคการกางฟลายชีทกรณีไม่มีต้นไม้
[row_inner_13] [col_inner_13 span__sm=”12″]กรณีที่ไม่มีต้นไม้ : ตอกเสาไม้ หรือเสาอลูมิเนียมตอกลงบนดินให้ระยะห่างกันมากกว่าความยาวของฟลายชีทราวด้านละ 1 ฟุต เช่น ฟลายชีท 3×4 ระยะห่างของเสาหลักควรจะมีระยะห่างกันราว 4 เมตร 60 เซนติเมตร หรือ 5 เมตร เมื่อตอกเสาหลักแล้ว ให้ตอกหลักไม้ต่อจากเสาหลักให้ห่างออกไปราว 1 เมตรทั้งสองด้าน จากนั้นนำเชือกมาขึงกางผูกจากเสาที่ 1 ไปยังเสาที่ 2 ให้ความสูงของเชือกสูงจากผืนดินราว 1 เมตร 80 เซนติเมตร ถึง 2 เมตร ดึงเชือกให้ตึง แล้วโยงไปยังหลักไม้ของแต่ละด้าน มัดให้แน่น จากนั้นนำฟลายชีท 3×4 หรือฟลายชีท 4×6 มาวางพาดบนเชือก จัดวางฟลายชีทให้ตึงและให้ฟลายชีททั้งสองด้านยาวเท่ากัน แล้วนำเชือกที่ฟลายชีทด้านข้างแต่ละด้านมาผูกติดเสาขนาด 1 เมตร ผูกด้วยเงื่อนตะกรุดเบ็ด จากนั้นดึงปลายเชือกยึดกับสมอบก แล้วจึงตอกสมอบกของแต่ละมุมลงบนดิน ***ทริคของการกางฟลายชีทแบบนี้คือ มุมของฟลายชีทด้านข้างจะมีมุมสูงบ้าง ต่ำบ้าง เป็นลักษณะสลับฟันปลา แต่บริเวณจั่วด้านหน้าของฟลายชีททั้งสองด้านจะเปิดให้สูงเสมอ เพื่อให้คนเข้า -ออกสะดวก ดึงเชือกมุมฟลายชีทด้านจั่วข้างหน้าและข้างหลังฟลายชีท ปักลงบนพื้น ตอกด้วยสมอบก ***เทคนิคกางฟลายชีทที่ดีคือฟลายชีทและเชือกที่ผูกติดกับฟลายชีทต้องตึง
[row_inner_14] [col_inner_14 span=”6″ span__sm=”12″ bg_color=”#7a9c59″ color=”light”]ข้อดีของการกางฟลายชีท แบบ Dining Fly Upgrade
1 ป้องกันสายฝน ลมและแสงแดดได้เป็นอย่างดี
2 มีพื้นที่ด้านในฟลายชีทค่อนข้างกว้าง ดูไม่อึดอัด
3 ไม่มีน้ำจากมุมฟลายชีทไหลเข้าด้านใน
4 หากมีฝนตกหนัก หรือน้ำค้างแรง ไม่มีน้ำขังบนฟลายชีทจนเป็นสาเหตุให้น้ำไหลซึมผ่านฟลายชีทได้
[/col_inner_14] [col_inner_14 span=”6″ span__sm=”12″ bg_color=”#d26e4b” color=”light”]ข้อเสียของการกางฟลายชีท แบบDining Fly Upgrade
1 อาจมีลมเข้าด้านในฟลายชีทเล็กน้อย
2 ใช้เวลาในการกางค่อนข้างนาน
[/col_inner_14] [/row_inner_14] [row_inner_14] [col_inner_14 span__sm=”12″]แบบกางฟลายชีททั้ง 4 แบบนี้เป็นรูปแบบเบื้องต้นที่เหมาะกับการตั้งแค้มป์ในไทย และทำได้ไม่ยาก รูปแบบการกางฟลายชีทแต่ละแบบจะเหมาะกับแต่ละพื้นที่ ทิศทางลม และจำนวนคน และความยาวฟลายชีทเป็นสำคัญ แล้วสุดสัปดาห์นี้ เพื่อน ๆ มีวางแผนไปตั้งแค้มป์ที่ไหนกันแล้วหรือยัง ?
**********************************************************************************************************
ผู้เขียน I am Mai Penguindoi